อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2546) และพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้
1. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 ได้กำหนด ได้แก่
– รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
– ให้มีและบำรุงทางบกและทาง
– รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัด มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
– ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
– ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
– ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
– ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
– บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
– หน้าที่อื่นตามกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
2. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 ได้กำหนด อำนาจหน้าที่ที่เทศบาลตำบลลำทับอาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขตเทศบาล ได้แก่
– ให้มีนํ้าสะอาดหรือการประปา
– ให้มีโรงฆ่าสัตว์
– ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
– ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
– บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
– ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
– ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
– ให้มีและบำรุงทางระบายนํ้า
– เทศพาณิฃย์
3. และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
– การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
– การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางนํ้าและทางระบายนํ้า
– การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
– การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
– การสาธารณูปการ
– การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
– การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
– การส่งเสริมการท่องเที่ยว
– การจัดการศึกษา
– การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส
– การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
– การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
– การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
– การส่งเสริมกีฬา
– การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
– ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
– การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
– การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และนํ้าเสีย
– การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
– การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
– การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
– การจัดให้มีและควบคุมการเลี้ยงสัตว์
– การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณะอื่นๆ
– การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– การผังเมือง
– การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
– การดูแลรักษาที่สาธารณะ
– การควบคุมอาคาร
– การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
– การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
– กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
4.อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนด นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2546 กำหนดไว้แล้วยังกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น
– พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2534
– พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535
– พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493
– พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2495
– พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534
– พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508
– พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510
– พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518
– พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2522
– พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
– พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ.2526
– พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528
อำนาจหน้าที่ของเทศบาลโดยสรุป
– รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
– ให้มีและบำรุงทางบกและทางนํ้า
– รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
– ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
– ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
– ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
– ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
– บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
– ให้มีนํ้าสะอาดหรือการประปา
– ให้มีโรงฆ่าสัตว์
– ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
– ให้มีและบำรุงทางระบายนํ้า
– ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
– ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
– ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
– หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
กิจการที่อาจจัดทำในเขตเทศบาล
– ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
– ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
– บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
– ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
– ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
– ให้มีการสาธารณูปการ
– จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
– จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
– ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
– ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
– ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
เทศพาณิชย์